การบริหารจัดการในชั้นเรียน

การบริหารจัดการในชั้นเรียน (Classroom management)

วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 7ก ารจัดการชั้นเรียนของครูมืออาชีพ

  การเป็นครูมืออาชีพนั่นจะต้อง  เป็นครูที่มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอนมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ  รวมถึงต้องพัฒนาทักษะวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง  เพื่อมุ่งพัฒนาทักษะวิชาชีพของตนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
      
การจัดการชั้นเรียน  คือ  การจัดสภาพของห้องเรียน  รวมไปถึงการจัดตกแต่งห้องเรียนให้บรรยากาศน่าเรียน  เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน
      
ความสำคัญของการจัดการชั้นเรียน
1. 
การเรียนรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้หรือเกิดได้น้อยถ้ามีสิ่งรบกวนในชั้นเรียนอยู่ตลอดเวลาด้วยปัญหาทางด้านพฤติกรรมของนักเรียน
2. 
การกำหนดคุณลักษณะพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียนไว้ล่วงหน้าจะมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดการชั้นเรียน  เพราะจะทำให้นักเรียนมีแนวทางในการควบคุมพฤติกรรมของตนเองโดยไม่แสดงอาการหรือพฤติกรรมที่จะเป็นการรบกวนการเรียนของผู้อื่น
3. 
ชั้นเรียนที่มีการจัดการกับพฤติกรรมนักเรียนได้อย่างเหมาะสม 
4. 
การจัดการในชั้นเรียนให้นักเรียนมีวินัยในการเรียนรู้และการอยู่ร่วมกันด้วยความเอื้ออาทร
      
ดังนั้นความสำคัญของการจัดการในชั้นเรียน  เป็นการดำเนินการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียน  เพื่อกระตุ้นส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้  รวมถึงการแก้ไขพฤติกรรมของนักเรียนโดยมีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของการเรียนการสอนตลอดจนบรรลุเป้าหมายของการศึกษา
  
บทบาทของการเป็นผู้นำของครูออกเป็น  3  ประเภท
1. 
ครูที่มีเผด็จการ  ลักษณะของครูเช่นนี้  จะต้องมีความเชื่อว่าตนเองมีความรู้ความสามารถในเนื้อหาวิชาการสอนจึงเน้นการถ่ายทอดความรู้โดยการจัดการเรียนการสอนที่เน้นครูเป็นสำคัญ
2. 
ครูที่มีความปล่อยปะละเลย  ครูประเภทนี้มีลักษณะอ่อนโยน
3. 
ครูที่มีลักษณะเป็นประชาธิปไตย  ครูประเภทนี้พร้อมที่จะตัดสินใจในปัญหาต่างๆ แต่ก็ยอมรับฟังความคิดเห็น  และความต้องการของนักเรียน

กิจกรรมที่ 6 ให้นักศึกษาอ่านบทความนี้ สรุปและแสดงความคิดเห็น มาตรฐานวิชาชีพ และนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพครูได้อย่างไร

สรุปมาตรฐานวิชาชีพ  และไปใช้ในการประกอบวิชาชีพครู
               ทุกวิชาชีพย่อมต้องมีมาตรฐานของวิชาชีพนั้น เพื่อวัด หรือประมาณค่าผู้ปฏิบัติการวิชาชีพ ตามมาตรฐานด้านความรู้ ทักษะ และประสบการณ์วิชาชีพ  การที่องค์กรด้านวิชาชีพต่างๆ ได้กำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพของตน ถือเป็นภาระหน้าที่เพื่อความมุ่งประสงค์ในการรักษา ส่งเสริม และพัฒนาอาชีพของตนให้มีมาตรฐานสูงที่สุด โดยให้ผู้ปฏิบัติการ ผู้รับบริการ ผู้เกี่ยวข้องและสาธารณชนได้เห็นความสำคัญของการอาชีพนั้นๆ และเพื่อให้การอาชีพนั้นๆ สามารถคงอยู่ได้ด้วยความมีคุณค่า เป็นที่ยอมรับนับถือและได้รับการยกย่อง
         สำหรับวิชาชีพทางการศึกษานั้น คำว่า มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการศึกษาเป็นทั้งการสร้าง การพัฒนา รวมทั้งการเสริมให้บุคคลมีคุณภาพ มีศักยภาพ ที่จะเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของชุมชน สังคม และประเทศ

มาตรฐานวิชาชีพ หมายถึง จุดมุ่งหมายหลักทีจะสร้างแนวทางปฏิบัติ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อให้เกิดความมั่นใจมนวิชาชีพของผู้ปฏิบัติ เพื่อให้การปฏิบัติงานอาชีพมีคุณภาพสูงสุด วิชาชีพใดๆ ย่อมให้บริการแก่สาธารณชน หรือองค์กรต่างๆ โดยต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญเฉพาะ โดยมีมาตรฐานในการประกอบอาชีพที่ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องได้รับการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างเพียงพอก่อนที่จะประกอบอาชีพ
วิชาชีพที่มีมาตรฐาน จึงได้รับการยกย่องให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงเพราะผู้ประกอบวิชาชีพ นอกจากต้องมีความรู้และทักษะในวิชาชีพแล้วยังต้องมีความรับผิดชอบสูง เพราะเกี่ยวข้องกับผู้รับบริการและสาธารณชน จึงต้องมีการควบคุมการประกอบวิชาชีพเป็นพิเศษ เพื่อให้เกิดความมั่งใจต่อผู้รับบริการและสาธารณชน โดยผู้ประกอบวิชาชีพต้องประกอบวิชาชีพด้วยวิธีการแห่งปัญญา ได้รับการศึกษาอบรมมายาวนานเพียงพอ มีอิสระในการใช้ชีวิตตามมาตรฐานวิชาชีพ และมีจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งต้องมีสถาบันวิชาชีพหรือองค์กรวิชาชีพที่เป็นแหล่งกลางในการสร้างสรรค์และจรรโลงวิชาชีพด้วย
มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ ที่ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดคุณภาพในการประกอบวิชาชีพ สามารถสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาให้แก่ผู้รับบริการจากวิชาชีพได้ว่า เป็นบริการที่มีคุณภาพ และตอบสังคมได้ด้วยว่า การที่กฎหมายให้ความสำคัญกับวิชาชีพทางการศึกษา และกำหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุมโดยต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพนั้น เนื่องจากเป็นวิชาชีพที่มีลักษณะเฉพาะ ต้องใช้ความรู้ ทักษะ และความเชี่ยวชาญในการประกอบวิชาชีพตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๔๙ ได้กำหนดมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาไว้ ๓ ด้าน เช่น

               
๑.มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู มาตรฐานข้อนี้ ประกอบด้วย มาตรฐาน ๒ ส่วน ได้แก่
               
มาตรฐานความรู้ หมายถึง ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพครู มีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง
                มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพครูจะต้องผ่านการฝึกทักษะและสมรรถนะของวิชาชีพครูในด้านการปฏิบัติการสอน รวมทั้งทักษะและสมรรถนะด้านการสอนสาขาวิชาเฉพาะในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
๒. มาตรฐานการปฏิบัติงาน มีความหมายครอบคลุมมาตรฐานย่อยๆ ของการปฏิบัติงาน ๑๒ ประการด้วยกัน คือ
                -
ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
                -
ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน
                -
มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
                -
พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
                -
พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
                -
จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
                -
รายงานผลกรพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
                -
ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีกับผู้เรียน
                -
ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
                -
ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์
                -
แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
                -
สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์ 
   ๓. มาตรฐานการปฏิบัติตน  หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติของผู้ปฏิบัติวิชาชีพ จะต้อง  ประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณของมาตรฐานวิชาชีพครู ๕ ประการดังต่อไปนี้
                -
จรรยาบรรณต่อตนเอง
                -
จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
                -
จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
                -
จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
                -
จรรยาบรรณต่อสังคม 
   
พื้นฐานและแนวคิด
          
โดยพื้นฐานและแนวความคิดความเชื่อของการมีมาตรฐานวิชาชีพ คือ
                - เป็นมาตรการของการให้ความสนับสนุนและช่วยเหลือผู้ประกอบวิชาชีพเพื่อสามารถพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพเป็นทั้งรายบุคคลและเป็นกลุ่มบุคคล
                -
เป็นมาตรฐานที่ทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพสามารถเลื่อนตำแหน่งวิชาชีพ เพิ่มคุณวุฒิ คุณภาพ คุณสมบัติ รวมทั้งทักษะและเจตคติในการประกอบวิชาชีพ
                -
เป็นมาตรการที่จะเพิ่มมาตรฐานในระดับวิชาชีพที่ทำอยู่ในด้านความรู้ความเข้าใจ และสมรรถนะของบุคคลให้มีความเป็นมืออาชีพในวิชาชีพยิ่งขึ้น เป็นต้น
          
มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษานั้น นอกจากเป็นมาตรฐานวิชาชีพที่ต้องประกอบวิชาชีพเพื่อบริการต่อสาธารณชนตามบริบทของวิชาชีพชั้นสูงทั่วไปแล้ว ยังต้องมีการปฏิบัติการวิชาชีพที่เกี่ยวกับบทบาทสำคัญต่อสังคมและความเจริญของประเทศที่สำคัญด้วยคือ (มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา : สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ๒๕๔๘: ๑)
                -
สร้างพลเมืองดีของประเทศ โยให้การศึกษาขึ้นพื้นฐานที่ประเทศต้องการ
                -
พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อสนองต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
                -
สืบทอดวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามขงอชาติ จากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่ง เพื่อรักษาความเป็นชาติไว้ให้มั่นคงและยาวนาน

การนำไปประยุกต์ใช้

                การใช้และปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพในรูปแบบและวิธีการที่ต่างๆ กัน ขึ้นกับแต่ละสถาบัน องค์กร สมาคม หรือสภาวิชาชีพต่างๆ การประยุกต์ใช้มาตรฐานวิชาชีพ ย่อมขึ้นกับความต่างของวิชาชีพความต่างของขอบเขตการใช้มาตรฐานด้วย เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับ คุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในการประกอบวิชาชีพครู โดยผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องนำมาตรฐานวิชาชีพเป็นหลักเกณฑ์ในประกอบวิชาชีพคุรุสภา
             มาตรฐานวิชาชีพครู 
จะเป็นหลักเกณฑ์สำคัญในการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะมีสิทธิ  ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู หรือการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ โดยผู้ที่จะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ จะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรฐานวิชาชีพครู
                เป็นตัวชี้วัดหรือประมาณค่าผู้ปฏิบัติการวิชาชีพ ตามมาตรฐานด้านความรู้ ทักษะ และประสบการณ์วิชาชีพและส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อให้เกิดความมั่นใจมนวิชาชีพของผู้ปฏิบัติ เพื่อให้การปฏิบัติงานอาชีพมีคุณภาพสูงสุด วิชาชีพใดๆ ย่อมให้บริการแก่สาธารณชน หรือองค์กรต่างๆ โดยต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญเฉพาะ โดยมีมาตรฐานในการประกอบอาชีพที่ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องได้รับการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างเพียงพอก่อนที่จะประกอบอาชีพ

กิจกรรมที่ 5 สิ่งที่ได้จากการอ่านบทความ


        แนวคิดของการเป็นครูที่ดีที่จะสามารถนำไปพัฒนานักเรียน  สังคมและประเทศชาติได้ต่อไป  ในบทความนี้จะสามารถทำให้ทราบถึงต้นแบบที่ดีที่จะอยุ่ในฐานะเป็นแม่แบบและในฐานะเป็นแรงบันดาลใจ  ซึ่งคนที่ได้พบได้เห็นและได้ฟังจะสามารถรับรู้ได้ว่านี้คือแม่แบบที่ดีของตนเอง   
       จากบทความเราสามารถทราบได้ถึงปัญหาสังคมได้ว่าเยาวชนในปัจจุบันที่พฟติกรรมเบี่ยงเบนไปในทางที่ไม่ดี จะมีผลมาจากต้นแบบที่อยู่ใกล้ต้วเองมาที่สุดซึ่งมาจาก  พ่อแม่ ครูหรือผู้ที่มีอิทธิพลกับเด็กซึ่งทำให้เด็กอาจจะเกิดความสับสนว่าสิ่งใดดี  สิ่งใดไม่ดี จนเกิดเป็นปัญหาสังคมขึ้นมาได้  จนทำให้บทความนี้มีนัยบอกว่า  คนที่จะสามารถเป้นต้นแบบที่ดีและมีวิญญานที่จะเป็นต้นแบบได้ดีที่สุด คือ  ครู ที่จะอดทนต่อความเหน็ดเหนื่อย และปราถนาดีต่อลูกศิษย์ทุกคน  และเป็นต้นแบบที่ดีของนักเรียนเสมอมา
ประโยชน์ที่จะนำไปพัฒนาตนเองจากบทความ
       1.  ทำให้ทราบถึงว่าความเป็นครูจะต้องมีความอดทนต่อความเหน็ดเหนื่อยต่อลูกศิษย์เสมอ  ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ในอนาคตของความเป้นครูต่อไปได้
       2.  ทำให้ตัวเองมีแนวคิดในการที่จะปฏิบัติตนให้เป็นต้นแบบที่ดีในหน้าที่ของครู
       3.  ทำให้ตัวเองมีแนวคิดในการที่จะปฏิบัติตนให้เป็นต้นแบบที่ดีในหน้าที่ของแม่
       
 

กิจกรรมที่ 4 สิ่งที่รับจากการที่ได้เรียนรู้จากการอ่านบทความ

การเป็นภาวะผู้นำในอดีตกับปัจจุบันยังคงมีความสำคัญมาตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงโดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคน ซึ่งการจัดการของคนนั้นหากให้ได้ผลแล้วจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้การสิ่งที่เรียกว่า ภาวะผู้นำ มากกว่าที่ใช้การจัดการ ภาวะผู้นำถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในการเปลี่ยนแปลงและจะให้สำเร็จนั้นจะต้องมีความศรัทธา ในส่วนของวิสัยทัศน์บางครั้งอาจมีน้ำหนักไม่เพียง การสร้างศรัทธาในที่นี้เป็นการสร้าง ความชอบ ความเชื่อ และเรื่องของการยอมรับ ซึ่งมันไม่ต้องมีเหตุผล ในการสร้างศรัทธาในตัวของผู้นำคือ ผู้ให้ ซึ่งผู้ให้คือผู้ที่ให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน จะเห็นได้ว่าธุรกิจใในปัจจุบันนั้นจะเป็นการแข่งขัน เป้าหมายของการแข็งขันคือชัยชนะ แต่การชัยชนะของผู้นำที่แท้จริงจะมองรางวัลที่ได้เป็นรางวัลของสำหรับทุกคน ซึ่งในปัจจุบันก็ยังคงมีคนที่เป็นผู้นำที่แท้จริงอยู่ ผู้นำในส่วนใหญ่เป็นผู้นำที่มาโดยต่ำแหน่งกันมากกว่า ดั้งนั้นการเป็นผู้นำที่แท้จริงจะต้องเป็นผู้ที่เสียสละ ซึ่งภาวะผู้นำกับเรื่องการเสียสละเป็นเรื่องที่คู่กัน  และผู้นำจะต้องสามารถทำงานเป็นทีมได้ให้ทุกคนร่วมกันสร้างสรรค์งานกันอย่างมีประสิทธิภาพ

วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่3 บุคคลสำคัญที่เราชื่นชอบ

เกิด1 ตุลาคม พ.ศ. 2471 (อายุ 82 ปี)
ฉางชา มณฑลหูหนาน ประเทศจีน
สังกัดพรรคพรรคคอมมิวนิสต์จีน
สมรสกับเหลา อัน
ลายมือชื่อZhu Rongji Sign.png


เกิด1 ตุลาคม พ.ศ. 2471 (อายุ 82 ปี)
ฉางชา มณฑลหูหนาน ประเทศจีน
สังกัดพรรคพรรคคอมมิวนิสต์จีน
สมรสกับเหลา อัน
ลายมือชื่อZhu Rongji Sign.png

เกิด1 ตุลาคม พ.ศ. 2471 (อายุ 82 ปี)
ฉางชา มณฑลหูหนาน ประเทศจีน
สังกัดพรรคพรรคคอมมิวนิสต์จีน
สมรสกับเหลา อัน
ลายมือชื่อZhu Rongji Sign.png








จู หรงจี้ (ภาษาจีน: 朱镕基; 朱鎔基; พินอิน: Zhū Róngjì) เกิดวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2471 เป็นนายกรัฐมนตรีของสาธารณรัฐประชาชนจีน คนที่ 9 ดำรงตำแหน่งระหว่าง พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2546
เกิด1 ตุลาคม พ.ศ. 2471 (อายุ 82 ปี)
ฉางชา มณฑลหูหนาน ประเทศจีน
สังกัดพรรคพรรคคอมมิวนิสต์จีน
สมรสกับเหลา อัน
ลายมือชื่อZhu Rongji Sign.png
www.tlcthai.com/club/view_topic.php


กิจกรรมที่2 ทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการ

ทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการหลักการพื้นฐาน 6 ประการคือ
1.นิติธรรม
2.คุณธรรม
3.ความโปร่งใส
4.ความมีส่วนร่วม
5.ความรับผิดชอบ
ความคุ้มค่า
เจ้าของทฤษฎี
อองรี  ฟาโยล์ (Henry  Fayol) 
นำหลักการทฤษฎีบริหารไปใช้
   ใช้ในการบริหารจัดการในชั้นเรียน การวางแผน การจัดองค์การ การบังคับบัญชา การประสานงาน การควบคุมงาน
www.edu.tsu.ac.th

กิจกรรมที่ 1 ความหมายของการบริหารจัดการในชั้นเรียน

   การบริหารจัดการในชั้นเรียน หมายถึง การควบคุมดูแลนักเรียนให้อยู่ใน
ระเบียบวินัยและตั้งใจเรียน แม้กระทั่งครูที่มีประสบการณ์ด้านการสอนที่มีความเชื่อมั่นในวิธีการควบคุมชั้นเรียน โดยนักเรียนต้องเชื่อฟังและอยู่ในระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด
   การบริหาร หมายถึง การปฏิบัติการควบคุมให้สมาชิกทุกคนเชื่อฟังและปฏิบัติการ
www.edu.lru.ac.th/image/book12.pdf
   ภาวะผู้นำทางการศึกษา หมายถึง   ผู้บริหารการศึกษาจะต้องมีคุณสมบัติของภาวะผู้นำนั้นเอง  การเป็นผู้บริหารสมัยใหม่ต้องการความเป็นผู้นำในการบริหารงานของตน  จึงจะกล่าวได้ว่าเป็นผู้บริหารสมัยใหม่  ทั้งนี้  เพราะผู้บริหารสมัยใหม่ตระหนักดีว่ามนุษย์มีความแตกต่างกันตามลำดับขั้นของความต้องการจำเป็น    ซึ่งต่างกับการทำงานกับเครื่องกลหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้กฎเกณฑ์ตายตัวได้ในการสั่งให้เครื่องทำงาน  แต่การสั่งให้มนุษย์ทำงานด้วยกฎเกณฑ์ที่ตายตัวอาจได้ผลมากบ้างน้อยบ้าง  หรือไม่ได้ผลเอาเสียเลยก็เป็นได้  ดังนั้นผู้บริหารจึงต้องใช้ศาสตร์      คือความรู้ในเรื่องระเบียบ  ทฤษฎีต่าง    และศิลปในการบริหารทฤษฎีจะเป็นเครื่องมือและเครื่องช่วยนำทางสำหรับผู้บริหาร    
www.kroobannok.com/blog/20426

แนะนำตนเอง

ชื่อนางสาวหทัยภัทร   พลสวัสดิ์  ชื่อเล่นกบ
อายุ 21ปี