การบริหารจัดการในชั้นเรียน

การบริหารจัดการในชั้นเรียน (Classroom management)

วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่11การกำหนดมาตรฐานคุณภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ

ครูจะต้องทำกิจกรรม 7 อย่างคือ 1) การวิเคราะห์หลักสูตร 2) การวิเคราะห์ผู้เรียน 3) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย  4) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน  5) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ 6) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ  7) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน      จากประเด็นดังกล่าว นักศึกษาจะนำวิธีดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  (ข้อสอบ 20 คะแนน) ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้
1.การวิเคราะห์หลักสูตร
การวิเคราะห์หลักสูตร เป็นการพิจารณารายละเอียดของจุดมุ่งหมายและเนื้อหา แล้วพิจารณาความสัมพันธ์ทั้งจุดมุ่งหมายและเนื้อหาเพื่อนำมาวางแผนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการสอบ
2.การวิเคราะห์ผู้เรียน
เป็นการวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียนเพื่อที่ผู้สอนจะได้ทราบว่าผู้เรียนมี ความพร้อมในการเรียนมากน้อยเพียงใดทั้งนี้เพราะการที่จะใช้สื่อให้ได้ผลดีย่อมจะต้องเลือกสื่อให้มีความสัมพันธ์กับลักษณะผู้เรียน ดังนั้นผู้สอนจะต้องคำนึงถึงลักษณะทั่วไปและลักษณะเฉพาะของผู้เรียน เช่น การกำหนดลักษณะทั่วไป ซึ่งได้แก่  อายุ  ระดับความรู้  สังคม  เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของผู้เรียนแต่ละคน ถึงแม้ว่าลักษณะทั่วไปของผู้เรียนจะไม่มี ความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาบทเรียนก็ตามแต่ก็เป็น สิ่งที่ช่วยให้ผู้สอนสามารถตัดสินระดับของบทเรียนและเพื่อเลือกตัวอย่างของเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้เรียนได้  ส่วนลักษณะเฉพาะของผู้เรียนแต่ละคนนั้น นับว่ามีส่วนสำคัญโดยตรงกับ เนื้อหาบทเรียนตลอดจนสื่อการสอนและวิธีการที่จะนำมาใช้ในการสอน
3.การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย
              
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง การจัดกิจกรรมโดยวิธีต่าง ๆ อย่างหลากหลายที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงเกิดการพัฒนาตนและสั่งสมคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมของประเทศชาติต่อไป
                การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มุ่งพัฒนาผู้เรียน จึงต้องใช้เทคนิควิธีสอนวิธีการเรียนรู้รูปแบบการสอนหรือกระบวนการเรียนการสอนในหลากหลายวิธีซึ่งจำแนกได้ดังนี้
1. การจัดการเรียนการสอนทางอ้อม
                2. เทคนิคการศึกษาเป็นรายบุคคล
                3. เทคนิคการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ
              4. เทคนิคการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นปฏิสัมพันธ์
                5. เทคนิคการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นประสบการณ์
                6. เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือ
                7. เทคนิคการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
4 .การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน 
การเลือกสื่อการสอนเพื่อนำมาใช้ประกอบการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมี ประสิทธิภาพนั้นเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง
การใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ สามารถช่วยเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ใช้สื่ออย่างเดียวและสามารถทำให้ผู้เรียนเกิดความคิดที่หลากหลายและสะดวกรวดเร็วต่อการทำงานเช่น  
1.สื่อโสตทัศน์
เป็นสื่อที่นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มของสื่อการเรียนการสอน โดยเป็นสื่อที่บรรจุหรือถ่ายทอดข้อมูลเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยการได้ยินเสียงและเห็นภาพ สื่อที่ใช้กันมาแต่ดั้งเดิม เช่น หนังสือตำราเรียน ภาพ ของจริง ของจำลอง จะเป็นสื่อที่บรรจุเนื้อหาในตัวเอง
2.Social Network
Social Network คือ สังคมออนไลน์ที่จะช่วยให้คุณหาเพื่อนบนโลกอินเตอร์เน็ทได้ง่ายๆ เราสามารถที่จะสร้างพื้นที่ส่วนตัวขึ้นมา เพื่อแนะนำตัวเองได้ เช่น2.1m-Learning
การเรียนรู้แบบเคลื่อนที่ (mobile learning) เป็นการจัดการเรียนการสอน หรือการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านคอร์สแวร์ที่นำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านเทคโนโลยีเครือข่ายแบบไร้สาย (wireless telecommunication network) และเทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกที่และทุกเวลา โดยผ่านสัญญาณแบบไร้สายที่มีบริการตามจุดต่างๆของมหาวิทยาลัยและภายนอกมหาวิทยาลัย (Access Point) ผู้เรียนและผู้สอนใช้อุปกรณ์ประเภทเคลื่อนที่ได้ที่มีความสามารถในการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบไร้สาย (Wireless Lan) ได้แก่ Notebook Computer, Portable computer, PDA/PAD Phone, Tablet PC, Cell Phones /Cellular Phone ในการดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหรือการเข้าถึงข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ด้วยผู้เรียนเอง
5 การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ
การวัดและประเมินผลเป็นส่วนสำคัญของการจัดการเรียนการสอน  การวัดและประเมินผลจึงต้องปรับเปลี่ยนไป ให้มีลักษณะเป็นการประเมินผลที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และประเมินผลตามสภาพจริงด้วย
          การประเมินผลตามสภาพจริง เป็นการประเมินผลผู้เรียนรอบด้านตามสภาพจริงของผู้เรียน มีลักษณะสำคัญดังนี้
1.  เน้นการประเมินที่ดำเนินการไปพร้อม ๆ กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งสามารถทำได้ตลอดเวลา ทุกสภาพการณ์
              2.   เน้นการประเมินที่ยึดพฤติกรรมการแสดงออกของผู้เรียนจริง ๆ
              3.  เน้นการพัฒนาจุดเด่นของผู้เรียน
4.   ใช้ข้อมูลที่หลากหลาย ด้วยเครื่องมือที่หลากหลายและสอดคล้องกับวิธีการประเมิน ตลอดจนจุดประสงค์ในการประเมิน
5.   เน้นคุณภาพผลงานของผู้เรียนที่เกิดจากการบูรณาการความรู้ ความสามารถหลายๆ ด้าน
6.  การประเมินด้านความคิด เน้นความคิดเชิงวิเคราะห์ สังเคราะห์
7.  เน้นให้ผู้เรียนประเมินตนเอง และการมีส่วนร่วมในการประเมินของผู้เรียน ผู้ปกครอง และครู
6 การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ
  1.เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงในการเรียนการสอนในครั้งต่อไป
 2. เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อผลการเรียนหรือกิจกรรมระหว่างเรียนทุกครั้ง
3. เพื่อรายงานผลการประเมินให้ผู้ปกครองและตัวนักเรียนเองได้ทราบเป็นรายๆ
 4.เพื่อทราบจุดอ่อน จุดแข็งของผู้เรียน
5.  เพื่อนำผลการเรียนไปปรับปรุงในครั้งต่อไปได้ถูกต้องตรงประเด็น
7 การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตนเอง
การทำวิจัยในแต่ละครั้งจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายซึ่งมีวิธีการดังนี้
1.ปัญหาในการวิจัย
2.สาเหตุของปัญหา
3.การแสวงหาแนวทางการแก้ปัญหา
4.การพัฒนานวัตกรรม
5.การนำนวัตกรรมที่สร้างขึ้นมาใช้ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาผู้เรียน
6.ผลการใช้นวัตกรรม
วิธีการเหล่านี้จะทำให้โครงการหรือการพัฒนานวัตกรรมงานต่างๆบรรลุไปได้ด้วยดี
ตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ กลุ่มสาระ สังคมศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ศาสนา เวลา 11 ชั่วโมง
เรื่อง ความหมายและความสำคัญของศาสนา เวลา
1 ชั่วโมงสาระที่ 1 : ศาสนา ศีลธรรม หลักธรรม
มาตรฐาน ส
1.1 : เข้าใจประวัติความสำคัญ หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือ
ศาสนาที่ตนนับถือ และสามารถนำหลักธรรมของศาสนามาเป็น
หลักปฏิบัติในการอยู่รวมกัน
สาระสำคัญ
ศาสนาทุกศาสนาสอนให้คนเป็นคนดี ด้วยการประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนของแต่ละศาสนาผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
อธิบายความหมายและความสำคัญของศาสนาได้
สาระการเรียนรู้
ศาสนา คือ หลักคำสอนให้คนประพฤติตนเป็นคนดี เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้กระทำแต่ความดี เพื่อความสงบสุขของคนในสังคมคนไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ การนัยถือศาสนาพุทธเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยประเทศไทยให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการนับถือศาสนา ดังนั้นจึงมีคนไทยนับถือศาสนาอื่น ๆ เช่น ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาพราหมณ์ และศาสนาซิกซ์ เป็นต้น พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ทรงนับถือศาสนาพุทธ และทรงเป็นองค์อัครศาสนูปถัมภก ทรงมีหน้าที่อุปถัมภ์ศาสนาทั้งปวง
กระบวนการเรียนรู้
1.
ครูนำเข้าสู่บทเรียนด้วยการสนทนา ทบทวนความหมายของศาสนาที่ได้เคยเรียนมาแล้ว
2.
ครูให้นักเรียนดูภาพการนั่งสมาธิ แล้วสนทนากับนักเรียนถึงผลดีของการทำสมาธิว่าทำให้จิตใจร่มรื่น สงบ เป็นการปฏิบัติตามคำสอนของศาสนา เมื่อเราปฏิบัติตนดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น สังคมก็จะมีความสงบสุข
3. ให้นักเรียนบอกเล่าประโยชน์ของศาสนาที่มีต่อสังคมมาคนละ
1 อย่าง ครูเขียนคำตอบไว้บนกระดาษ แล้วให้นักเรียนเลือกมา 2 ข้อ อภิปรายกันตามหัวข้อนี้
4. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๆ ละ
3 คน เลือกทำใบงานที่ 1 หรือใบงานที่ 2
5.
เลือกตัวแทนนักเรียนมาเฉลยบัตรงานที่ และบัตรงานที่ 2 โดยให้เพื่อน ๆ ในห้องช่วยกันตรวจสอบว่าถูกต้องหรือไม่
6.
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปบทเรียน
7.
นักเรียนแต่ละคนทำแบบฝึกหัด
กระบวนการวัดผลประเมินผล
1.
สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
2.
สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล
3.
การนำเสนอผลงาน
4. การตรวจผลงาน
เครื่องมือ
1.
แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
2.
แบบประเมินพฤติกรรมรายบุคคล
3.
แบบประเมินการนำเสนอผลงาน
4.
แบบประเมินการตรวจผลงาน
เกณฑ์การประเมิน
1.
สังเกตการทำงานกลุ่ม ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80
2.
สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80
3.
การนำเสนอผลงาน ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80
4.
การตรวจผลงาน ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1.
ภาพการนั่งสมาธิ
2.
ใบงานที่ 1
3.
ใบงานที่ 2
4.
แบบฝึกหัด
ความคิดเห็นผู้บริหาร
ลงชื่อ………………………………………..
(…………………………………….)
ผู้บริหารสถานศึกษาบันทึกผลหลังการสอน
ปัญหา/อุปสรรค
แนวทางแก้ไข
ลงชื่อ………………………………………..
(……………………………………
 
 อ้างอิง

http://tanapan98.blogspot.com/
school.obec.go.th/khaokling/datahtml/social.html
http://media-g5.blogspot.com/

 

กิจกรรมที่9ให้นักศึกษา ดูทีวีในแหล่งความรู้โทรทัศน์สำหรับเลือกดูคนละหนึ่งเรื่อง การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน

๑. มีความเมตตากรุณาอย่างแท้จริง คือเมตตากรุณาโดยไม่หวังผลตอบแทน ไม่คิดทวงคืนจากศิษย์ กระทำอย่าง ไม่ขาดตอนและไม่ลดละ ทำเพราะรู้ว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องควรทำ ให้เพราะรู้ว่าเป็นสิ่งที่ ควรให้ ไม่ว่าจิตใจของครู ในขณะนั้น จะเป็นอย่างไร บ่อของความเมตตา กรุณา ในใจของครู ยังมั่นคง เต็มเปี่ยม พร้อมที่จะเผื่อแผ่ไหลหลั่ง เจือจานลูกศิษย์ได้เสมอ
๒. มีความเป็นกัลยาณมิตรต่อศิษย์ตลอดชีวิต กัลยาณมิตร แปลตามตัวก็คือ เพื่อนที่ดี สมเด็จ พระสัมมา สัมพุทธเจ้า ท่านรับสั่งเสมอว่า ผู้ใด มีพระองค์ท่าน เป็นกัลยาณมิตร ผู้นั้นจะมีชีวิตรอด ความรอดนั้นคือรอดจากความทุกข์ รอดจากสิ่งที่เป็นปัญหา
ไม่ว่าศิษย์จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ทำงานการมีตำแหน่งหน้าที่อย่างใด ครูก็ยังห่วงใยติดตาม ด้วยความหวังดี ไม่ว่าศิษย์ จะเป็นคนอย่างไร จะไปประกอบอาชีพใด มีชีวิตหักเหอย่างไร ถ้าได้ทราบว่า ลูกศิษย์ไปตกอยู่ในอันตราย หรือตกอยู่ในความเขลา หรือกำลัง คิดจะทำอะไรที่ผิด ครูซึ่งเป็น กัลยาณมิตร ของศิษย์ จะให้คำแนะนำ ตักเตือน ว่ากล่าว แต่หากลูกศิษย์ไปดี เจริญก้าวหน้า ทำตน เป็นประโยชน์แก่สังคม ครูก็อนุโมทนา ชื่นชมยินดี แม้ลูกศิษย์ จะไม่ทราบ แต่ครูก็ชื่นใจ และมีสิทธิ ที่จะรู้สึกเช่นนั้นได้
๓. มีความซื่อตรงต่ออุดมคติของความเป็นครู ในฐานะที่เรายังเป็นปุถุชน บางครั้งก็เกิดความหวั่นไหว เพลี่ยงพล้ำ ศรัทธาที่มีต่ออุดมคติ ที่ตั้งไว้ก็คลอนแคลนไปบ้าง เพราะเหตุปัจจัยบางอย่างชวนให้ท้อแท้ เหน็ดเหนื่อย สิ้นหวัง หมดกำลังใจ แต่ครูต้องมีเจตนารมณ์ ที่แน่วแน่ ในการมุ่งสร้างสังคม สร้างชาติ บ้านเมือง ด้วยการสร้างเด็กให้เป็นพลเมืองดี ผลพลอยได้ก็คือการสร้างโลกให้น่าอยู่ หากครูสิ้นหวัง เสียอาชีพเดียว โลกจะล้มละลาย สภาวะของสังคมที่เป็นอยู่ทุก- วันนี้ ก็เพราะความอ่อนแอของครู บางส่วน ที่จิตวิญญาณของความเป็นครู ไม่เข้มแข็งพอ
๔. อดทนและเสียสละ ไม่เห็นแก่ตัว ผู้เป็นครูไม่สามารถปฏิเสธการร่วมรับผิดชอบในความเสื่อมหรือ ความเจริญ ของสังคม ที่เกี่ยวข้องได้ เราปฏิเสธไม่ได้เลย ว่าสภาวะของสังคมที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ไม่ใช่ผลิตผลของการศึกษา และเราพอใจแล้วหรือยัง แม้จะรู้สึกเหน็ดเหนื่อย และมีภาระส่วนตัว มากเพียงใด ครูก็ยังคงต้องเป็นผู้เสียสละ เห็นแก่ธรรมะ และความถูกต้องของสังคม
๕. เป็นเสมือนประภาคารหรือดวงประทีปของศิษย์ ครูเป็นผู้อบรมพัฒนาจิตของศิษย์ให้มีสติปัญญา อันถูกต้อง เป็นสัมมา ทิฏฐิ ในทางธรรม ท่านเปรียบความสำคัญของสัมมาทิฏฐิว่า เป็นเสมือนเข็มทิศ แผนที่ รุ่งอรุณ หรือดวงประทีปส่องทาง เพราะสติปัญญา ที่เป็นสัมมาทิฏฐิ จะช่วยไม่ให้ชีวิตนั้น หลงทาง จะรู้ว่าอะไรคือความถูกต้อง แม้มีปัญหาอุปสรรคเกิดขึ้น ก็แก้ไขได้ด้วยสติปัญญา
๖. เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ศิษย์ ครูต้องสามารถกระทำได้อย่างที่สอนศิษย์ ใครจะทำอย่างไรก็ช่างเขา แต่ผู้เป็นครู จะต้องมีจุดยืน ให้เห็นว่า นี่คือความถูกต้อง ถ้าลูกศิษย์ ไปประสบปัญหาชีวิต แล้วกลับมา หาครูเพื่อขอคำปรึกษา ครูต้องยืนอยู่บนความถูกต้อง ต้องชี้ให้ลูกศิษย์เห็น และกลับไปสู้ใหม่ ด้วยความถูกต้อง โดยธรรม นี่คือวิธีที่เราจะยกฐานะของสังคมให้เป็นโลกของมนุษย์ มิใช่เป็นเพียง โลกของคน
แหล่งที่มา: http://www.asoke.info/09Communication/DharmaPublicize/Dokya/D117/055.html

กิจกรรมที่8วัฒนธรรมองค์การ(Organaization Culture)

วัฒนธรรมองค์การ หมายถึงธรรมเนียมปฏิบัติของหน่วยงานบางคนหมายถึงแบบแผนการประพฤติปฏิบัติหน้าที่หน่ายงานคาดหวังให้สมาชิกทำตาม แนวคิดเกี่ยวกับองค์การ
    วัฒนธรรมองค์การทั้งหลายนั้นมีที่มาจากความคิดพื้นฐาน  2 แนวทางหลัก คือ แนวทางที่เห็นว่าวัฒนธรรมเป็นตัวแปรตัวหนึ่งในองค์การ (culture as a variable)และแนวทางที่เห็นว่าองค์การเปรียบเสมือนวัฒนธรรมๆหนึ่ง (culture as a root metaphor) แนวทางแรก ที่เห็นวัฒนธรรมองค์การเป็น พฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้ และเป็นตัวแปรตัวหนึ่งในบรรดาตัวแปรหลายตัวที่องค์การมีอยู่ (ตัวแปรอื่นๆ เช่น โครงสร้างองค์การเทคโนโลยี ฯลฯ)แนวทางแรกจึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “culture is something an organization has” ส่วนแนวทางหลัง เชื่อว่าวัฒนธรรมองค์การเป็นความคิด ความเชื่อ ที่อยู่ภายในจิตใจของคนกลุ่มหนึ่งและไม่ใช่เป็นเพียงตัวแปรตัวหนึ่งในองค์การ แต่ตัวองค์การเองทั้งหมดคือวัฒนธรรมๆ
แนวทางพัฒนาองค์การ
  การพัฒนาองค์การมิได้หมายถึงการพัฒนาแต่เฉพาะองค์การที่มีปัญหาเท่านั้นหากแต่องค์การที่มีความเจริญรุ่งเรืองอยู่แล้วก็ควรได้รับพัฒนาให้เจริญยิ่งขึ้น เพราะเมื่อใดที่คิดว่าองค์การของตนมีความเจริญและมีการพัฒนาที่ดีแล้วจึงหยุดนิ่งก็เท่ากับว่ากำลังเดินถอยหลังตลอดเวลาผู้บริหารจึงควรมีการพัฒนาองค์การอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยอาศัยหลักการดังนี้
  1. กำหนดเป้าหมาย (Goal Sating) ควรมีการประชุม อภิปราย เพื่อกำหนดนโยบายร่วมกันทั้งฝ่ายผู้บริหารและสมาชิกในองค์การอย่างชัดเจน และตรงไปตรงมา
  2. ความเข้าใจในสถานการณ์ (Understand Relations) ต้องอาศัยความเข้าใจร่วมกัน เพราะความต้องการของบุคคลจะเป็นตัวอิทธิพลอย่างยิ่งต่อพฤติกรรมการทำงาน
  3. การปรับปรุงสัมพันธ์ภาพ (Improving Relations) การมีสัมพันธ์ภาพที่ดีต่อกันในองค์การถือเป็นผลพลอยได้ขององค์การ แต่ไม่ว่าคนในองค์การจะมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกันหรือไม่ก็ตาม ควรได้รับการเปิดเผย เพื่อให้ต่างฝ่ายได้รู้ถึงปัญหา เมื่อรู้ถึงปัญหาทุกคนจะพยายามปรับตัวเข้าหากันและตั้งใจทำงานมากขึ้น
  4. ให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วม  ในการดำเนินการ การแก้ปัญหา การตัดสินใจ การให้ความสนับสนุนและความร่วมมือ ทั้งนี้ควรคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลง การแก้ปัญหา ระบบการทำงานของมนุษย์ขึ้นอยู่กับดุลภาพของงาน (Balance of force) ภายในระบบของหน่วยงานนั้นๆ
  5. การเชื่อมโยง (Linking) แนวยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การ คือ ความสามารถในการโน้มน้าวคนในหน่วยงานให้มีความเข้าใจที่ดีต่อกันมากที่สุด
กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ
      กำหนดกลยุทธ์ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กร คำว่ากลยุทธ์หมายถึงแนวทางหรือสะพานเชื่อมช่องว่างระหว่างสิ่งที่เราเป็นอยู่ไปสู่สิ่งที่เราต้องการจะเป็นการกำหนดกลยุทธ์ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรนิยมทำกันใน 2 ลักษณะคือ
               1. การเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป จากวัฒนธรรมที่เปลี่ยนได้ง่ายไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยุ่งยาก หรืออาจจะเป็นการสร้างกระแสวัฒนธรรมใหม่กลบกระแสวัฒนธรรมเก่า การเปลี่ยนแปลงจะแทรกซึมอยู่ในทุกกิจกรรม เป็นการสร้างวัฒนธรรมแบบกองโจรเพราะเป็นการเก็บเล็กผสมน้อยไปเรื่อยๆ    การเปลี่ยนแปลงแบบนี้จะส่งผลกระทบต่อคนในองค์กรน้อย แต่ต้องใช้ระยะเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่มีอายุยาวนานและมีวัฒนธรรมดั้งเดิมแข็งแกร่ง
               2. การเปลี่ยนแบบผ่าตัด เป็นการเปลี่ยนแปลงทันทีทันใด อาจจะมีการเจ็บปวดบ้างในช่วงแรก แต่ได้ผลดีในระยะยาว เพราะทุกอย่างชัดเจน ทุกคนทราบว่าตัวเองจะอยู่ได้หรือไม่ได้ในวัฒนธรรมองค์กรแบบใหม่ หลายองค์กรนิยมยืมมือบุคคลที่สามเข้ามาทำการผ่าตัด บางองค์กรมักจะผ่าตัดเพื่อกำหนดวัฒนธรรมองค์กรไปพร้อมๆกับการผ่าตัดโครงสร้างองค์กร เปรียบเสมือนกับการที่คุณหมอเปลี่ยนทัศนคติของคนไข้เมื่อคนไข้อยู่ในภาวะเจ็บป่วย เพราะในช่วงเวลานั้นคนไข้มักจะเชื่อฟังคุณหมอมากกว่าตอนที่ร่างกายเป็นปกติ 
 แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้
 เนื่องจากปัญหาส่วนใหญ่ที่พบใน องค์การคือ การนำแผน และกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ เพราะแผนและกลยุทธ์ที่ถูกกำหนดอย่างดีจะไม่มีความหมายเลยถ้านำไปปฏิบัติไม่ ได้ จากเหตุผลดังกล่าวทำให้นักบริหารพยายามค้นหาตัวแปรที่จะทำให้การนำไปสู่การปฏิบัติมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยหลายองค์การได้นำเอาวัฒนธรรมองค์การมาประยุกต์ใช้ ซึ่งพบว่าในการดำเนินงานสามารถสร้างให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานได้ใน ลักษณะที่เป็นธรรมชาติมาก
    กล่าวคือ ไม่ต้องมีการสั่งการ และ การออกกฎระเบียบ เพื่อใช้บังคับพฤติกรรมบุคคลในองค์การ ซึ่งเดิมเคยอาจใช้ได้ผลซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะของการถูกบังคับ ซึ่งเป็นผลทำให้ประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นมีผลแค่เพียงในระยะเวลาสั้น เมื่อเทียบกับการควบคุมโดยประยุกต์ใช้วัฒนธรรมองค์การที่เกิดขึ้นในลักษณะ ตามธรรมชาติ

ตัวอย่าง เช่น วัฒนธรรมองค์การของบริษัท Polaroid ที่ยึดติดอยู่กับกรอบความคิดที่ว่าภาพถ่ายที่ดีต้องใช้ฟิล์มเท่านั้น Polaroid เป็นบริษัทแรกที่เป็นเจ้าของแนวคิดถ่ายรูปแล้วสามารถเห็นภาพทันที ซึ่งก็คือ Digital Picture ในปัจจุบัน แต่ด้วยค่านิยมที่ฝังแน่นเกินไปทำให้ Polaroid ที่ควรจะเป็น ผู้นำในเรื่อง Digital Picture กลับกลายเป็นบริษัทที่เกือบล้มละลาย ปล่อยให้บริษัท Sony และ บริษัท Canon กลายเป็นผู้นำแทนในเรื่องการถ่ายภาพที่สามารถเห็นภาพทันที

สรุป     วัฒนธรรมในองค์กรนั้นไม่ได้มีแต่ด้านดีอย่างเดียว เราคงต้องยอมรับว่ายังมีวัฒนธรรมองค์กรในด้านไม่ดีที่ฝังรากปะปนอยู่ด้วย ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้นำในทุกระดับขององค์กรที่จะต้องค้นหา ส่งเสริม รณรงค์ และกระตุ้นให้พนักงานทุกคนในองค์กรมีจิตสำนึกในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีให้เกิดขึ้นในองค์กรนั้น ๆ