การบริหารจัดการในชั้นเรียน

การบริหารจัดการในชั้นเรียน (Classroom management)

วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 12

การท่องเที่ยวจังหวัดสตูล

            ที่เที่ยวสถานที่แรกที่ข้าพเจ้าไปเที่ยว คือ หมู่เกาะเภตราที่นั้นมีความสวยที่เป็นธรรมชาติมากที่หนึ่งของจังหวัดสตูลเลยทีเดียว

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ประกอบด้วยพื้นที่ชายฝั่งทะเลและหมู่เกาะน้อยใหญ่ในทะเลอันดามันมากกว่า 22 เกาะครอบคลุมพื้นที่ 494.38 ตารางกิโลเมตร โดยได้มีพระราชกฤษฎีกาประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2527 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 49 ของประเทศไทย

ลักษณะภูมิประเทศ
   ลักษณะภูมิประเทศของอุทยานแห่งชาติประกอบด้วยพื้นที่ชายฝั่งทะเลซึ่งส่วนใหญ่เป็นหาดทราย ป่าชายเลนผสมบ้าง ส่วนพื้นที่ที่เป็นเกาะอยู่กลางทะเลอันดามันจะเป็นภูเขาหินปูน มีพรรณไม้ป่าดงดิบขึ้นหลายชนิด บางเกาะก็ไม่มีต้นไม้ขึ้นอยู่เลย จะมีก็แต่ไม้เลื้อยเล็กๆขึ้นปกคลุมอยู่
ลักษณะภูมิอากาศ
   อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ตั้งอยู่ในเขตโชนร้อน ลักษณะลมฟ้าอากาศคล้ายคลึงกันตลอดปีความแตกต่างระหว่างฤดูกาลไม่เด่นชัด มีฤดูฝนอันยาวนานจนกล่าวได้ว่ามีฝนกระจายตลอดทั้งปี แต่ระยะที่มีฝนหนักจริงๆ จะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมต่อกันไปจนถึงเดือนตุลาคม สิ้นเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมีนาคมปริมาณฝนจะลดลงสำหรับฤดูร้อนจะปรากฏเป็นช่วงสั้น ๆ ในเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน ซึ่งเป็นระยะการเปลี่ยนแปลงฤดูมรสุม จากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนช่วงการเปลี่ยนแปลงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เป็นมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ในเดือนตุลาคมนั้นทำให้สภาพภูมิอากาศของพื้นที่แตกต่างกันไปบ้างแต่ไม่เด่นชัดนักพันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
   สภาพป่าไม้โดยทั่วไปของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา สามารถแบ่งพืชพรรณออกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
   ป่าดงดิบ พบกระจายอยู่ตามเกาะต่างๆ เป็นป่ารกทึบ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ตะเคียนหิน กระโดน ส้มเสี้ยว ฯลฯ ส่วนไม้พื้นล่างประกอบด้วย หวาย เฟิน มอส และพืชในวงศ์ขิงข่า
   ป่าชายหาด พบอยู่เฉพาะหาดทรายที่เป็นที่ราบตามอ่าวของเกาะต่างๆ สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าโปร่ง พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ สนทะเล กระทิง ปอทะเล โพทะเล หูกวาง กาหยี จิกเล ไม้พื้นล่างเป็นพวกเตยทะเลหรือลำเจียก
   ป่าชายเลน พบขึ้นอยู่ในดินเลนบริเวณริมทะเล และตามปากคลองซึ่งน้ำทะเลท่วมถึง พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก โปรง ตะบูนดำ ตะบูนขาว ถั่วดำ และถั่วขาว
   สังคมพืชน้ำพบมากจำพวกสาหร่ายและแพลงก์ตอนพืช
   สัตว์ป่า
   สัตว์จำพวกนก ที่มีลักษณะเด่นและควรจะสงวนไว้คือ นกออก เหยี่ยวแดง เหยี่ยวรุ้ง ฯลฯ เป็นต้น
   สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ได้แก่ ลิงลม ค่างกระจง กระรอก หมู่ป่า และค้างคาวชนิดต่างๆ
   สัตว์เลื้อยคลาน ได้แก่ งูเหลือม ตะกวดและอื่น ๆ
   ปลา พบปลาทะเลมากมายหลายชนิดที่พบโดยทั่วไป ได้แก่ ปักเป้าทะเล ปลากระทงแดง ม้าน้ำ ปลาตีนและปลาผีเสื้อ เป็นต้น




จุดเด่น : เกาะที่มีชื่อไพเราะจนเป็นที่มาของชื่ออุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา มีขนาดใหญ่กว่าเกาะหลาวเหลียงเล็กน้อย หากแบ่งตามภูมิศาสตร์การปกครองแล้ว เกาะเภตรานั้นอยู่ในเขตจังหวัดสตูล ในขณะที่เกาะหลาวเหลียงซึ่งอยู่ใกล้กันจะอยู่ในเขตจังหวัดตรัง
   เกาะเภตราเป็นเกาะเดิมที่มีนกนางแอ่นใช้เป็นบ้านพักอันแสนสุข ตัวเกาะห่างจากฝั่งประมาณ 20 กิโลเมตร ทำให้เงียบสงบ วันนี้เกาะเภตราเป็นเกาะที่สัมปทานรังนก การขึ้นเกาะจึงต้องอนุญาตผู้ดูแลเสียก่อน
   เรื่องความงดงามของเกาะนี้อยู่ที่ชายหาดทอดยาว ทรายขาวสาด น้ำทะเลสีสวยและใส ห่างจากหาดลงทะเลไปเล็กน้อยยังสามารถท่องโลกใต้น้ำชมปะการังน้ำตื้นได้ แม้จะไม่สวยเด่นแต่ก็ไม่น่าพลาดชม



ที่เที่ยวสถานที่ 2  คือ อุทยานแห่งชาติทะเลบัน

            เป็นทะเลน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่กว้างขวางและที่สำคัญที่สุดคือยังคงรักษาความเป็นธรรมชาติได้ดีที่สุด

ที่เที่ยวสถานที่ 3  คือ เขตชายแดนไทย-มาเลเซีย (ด่านวังประจัน)

 อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติทะเลบัน 2 กิโลเมตร บริเวณเขตแดนมีหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ ตั้งอยู่ หากเดินทางต่อไปอีกประมาณ 23 กิโลเมตร ก็จะถึงปาดังเบซาร์ ซึ่งมีสินค้าราคาถูกจำหน่าย หรือหากต้องการไปยังเมืองกางะ เมืองหลวงของรัฐเปอร์ลิส ก็สามารถไปได้เพียงเดินทางไปอีกประมาณ 30 กิโลเมตรเท่านั้น




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น